วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

มนต์คาถาศักดิ์สิทธิ์ ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

ต้นฉบับเดิม

                เปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก มีคำกล่าวในหนังสือนำว่าผู้ใดมีไว้ประจำบ้านเรือนมีอานิสงส์ยิ่งกว่าได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมโลกและป้องกันภยันตรายต่างๆ ทำมาหากินเจริญฯ

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก
                ผู้ใดได้สร้างยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้เป็นธรรมทานและไว้สวดมนต์สักการบูชาผลานิสงส์สุดที่จะพรรณาให้ทั่วถึงได้
เป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่และจะมีความสุขสิริสวัสดิ์เจริญต่อไปทั้งปัจจุบันกาลและอนาคตภายภาคหน้า ตลอดบุตรหลานสืบไป ด้วยอำนาจของความเคารพในพระคาถานี้


                สร้างครบ ๗ วัน ครบอายุ หมดเคราะห์โศกทุกประการฯ

ประวัติกล่าวไว้ต้นฉบับเดิมว่า
                หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกนี้ มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดได้สวดมนต์ภาวนาทุกค่ำเช้าแล้ว เป็นการบูชารำลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้นั้นจะไม่ไปตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือนก็อาจป้องกันอันตรายต่างๆ  จะภาวนาพระคาถาอื่น ๆ สัก ๑๐๐ ปี อานิสงส์ก็ไม่สูงเท่าพระคาถานี้ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าอินทร์ พรหม ยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำ ก่อเป็นพระเจดีย์ตั้งแต่มนุษยโลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก อานิสงส์ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้และมีคำอธิบายคุณความดีไว้ในต้นฉบับเดิมอีกนานัปการฯ

                ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก จารึกเป็นอักษรขอมจารึกไว้ในใบลาน โบราณาจารย์จึงได้แปลเป็นภาษาไทย หลวงธรรมาธิกรณ์(พระภิกษุแสง) ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก

                   ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกนี้ ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้าง ถวายพระภิกษุสงฆ์ สมเณร ญาติมิตรสหาย หรือสวดจนครบ ๗ วัน ครบอายุปัจจุบันของตนจะบังเกิดโชคลาภ ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและภัยพิบัติทั้งปวง

                ผู้ใดตั้งจิตเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกวันละสามจบ จะไม่มีบาปกรรม ทำสิ่งใดจะได้สมความปรารถนา สวดวันละเจ็ดจบกระดูกลอยน้ำได้
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (ฉบับเดิม)

   ๑.         อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง   วะตะ โส ภะคะวา,
              อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ    วะตะ โส ภะคะวา,
              อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วะตะ โส ภะคะวา,
              อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต  วะตะ โส ภะคะวา,
              อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู  วะตะ โส ภะคะวา,
              อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ, 
              อะระหันตัง สิระสา นะมามิ, 
              สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
              สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ,
                วิชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ,
               วิชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ,
               สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ,               สุคะตัง สิระสา นะมามิ,
               โลกะวิทังสะระณัง คัจฉามิ, 
               โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ,
๒.           อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะ โส ภะคะวา,
               อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ วะตะ โส ภะคะวา,

               อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วะตะ โส ภะคะวา,
         
               อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วะตะ โส ภะคะวา,
                              
               อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ,

               อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ,

               ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ

                              ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ,

              สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ

                             สัตถา เทะวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ,  

                             พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,  

                            พุทธัง สิระสา นะมามิ
๓.            อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิจะ สัมปันโน,  
                                อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิจะ สัมปันโน,
                อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิจะ สัมปันโน,
                อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิจะ สัมปันโน,
                อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิจะ สัมปันโน,



   ๔.         อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวี ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน,
                               อิติปิ โส ภะคะวา อาโป ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน
               อิติปิ โส ภะคะวา เตโช ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน,
                              อิติปิ โส ภะคะวา วาโย ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน,

                              อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะ ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน,

                              อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะ ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน,

                              อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะ ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน,
๕.            อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
                อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
                อิติปิ โส ภะคะวา ยามา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
                อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
                อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
                อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
                อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
                อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
                อิติปิ โส ภะคะวา อะรูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
                อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
๖.         อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
             อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
             อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
             อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
             อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
๗.        อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
                            อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
            อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
            อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญาณาสัญญายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน,
๘.         อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน,
             อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน,
             อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน,
             อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน,
             อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน,
             อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน,
             อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน,
             อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะ สัมปันโน,
๙.         กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
             ชมภูทีปัญจะ อิสสะโร กุสะลาธัมมา นะโมพุทธายะ นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ
             ปัญจะพุทธา นะมามิหัง อา ปามะจุปะ ทีมะสังอังขุ สังวิธา ปุกะยะปะ อุปะสะชะสะเห ปาสายะโสฯ
             โสโสสะสะ อะอะอะอะนิ เตชะสุเนมะภูจะนาวิเว อะสังวิสุโลปุสะพุภะ อิสะวาสุ, สุสะวาอิ,
             กุสะลาธัมมา จิตติ วิอัตถิ,
             อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิปัญจะ อิสะโร ธัมมา,
             กุสะลาธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
๑๐.      จาตุมะหาราชิกาอิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง
คัจฉามิ,
            ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
            ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา พรหมาสัททะ ปัญจะ สัตตะสัตตาปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
            ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุยะ ปะ กะ ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
            นิมมานะระติ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ สัตถาเทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
            ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
            พรหมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิฯ

๑๑.      นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
            พุทธิลาโลกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะฯ
            นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
            วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ,
            อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มหาจักกะวัตติสาวัง
            เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสีสาวัง มะหาอิสีสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง
           สัปปุริสะสาวัง มะหาสัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง
           อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง
          สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง
          เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ,
          สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง
         โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริรูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง
         เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ,
๑๒.  นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
         นะโม อิติปิ โส ภะคะวา,
         นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
         นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
         นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
         นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง,
         นะโม พุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโย โมนะ อุอะมะ
         ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุอะมะ อะวันทา
         นะโมพุทธายะ นะอะกะติ นิสะระณะ อาระปะขุทธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตาฯ
         วิปัตสิต สัพพะทุกขา สัพพะภะยา สัพพะโรคา วินาสสันตุ


ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก(ย่อ)
“จิ เจ รุ นิ “
















 


วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

การจัดสร้างพระพุทธรูปหรือสิ่งพิมพ์อันเกี่ยวกับพระธรรมคำสอน เป็นกุศลดังนี้

   - อกุศลกรรมในอดีตชาติแต่ปางก่อน จะเปลี่ยนจากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นสูญ
   - สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง สรรพภยันตรายสลาย
   - เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติแต่ปางก่อน เมื่อได้รับส่วนบุญไปแล้ว ก็จะเลิกเว้นการจองเวร
   - เหล่ายักษ์ผีรากษส งูพิษเสือร้าย ไม่อาจเป็นภัย
   - จิตใจสงบ ปวงภัยไม่เกิด ฝันร้ายไม่มี ราศีผ่องใส สุขภาพแข็งแรง กิจการงานเป็นมงคล
   - มั่นคงในคุณธรรม ความอุดมสมบูรณ์ปรากฏ (เกินความคาดฝัน) ครอบครัวสุขสันต์ วาสนายั่งยืน
   - คำกล่าวเป็นสัจจ์ ฟ้าดินปราณี ทวยเทพยินดี มิตรสหายปรีดา
   - คนโง่สิ้นเขลา คนเจ็บหายได้ คนป่วยหายดี ความทุกข์หายเข็ญ สตรีจะได้เกิดเป็นชาย
   - พ้นจากมวลอกุศล เกิดใหม่บุญเกื้อหนุน มีปัญญาเลิศล้ำ บุญกุศลเรืองรอง
   - สิ่งที่สร้างจะบังเกิดเป็นกุศลจิตแก่ทุกคนที่ได้พบเห็น เป็นเนื้อนาบุญอย่างเอนกทุกชาติของผู้สร้างที่เกิดจะได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้า ปัญญาในธรรมแก่กล้าสามารถได้อภิญญาหก สำเร็จโพธิญาณ

    การจัดสร้างพระพุทธรูปและสิ่งพิมพ์เป็นกุศลดังกล่าว ฉะนั้นในงานวันเกิดงานมงคลต่างๆ การฉลองยศหรือตำแหน่ง การทำบุญสะเดาะเคราะห์หรือขอพร การขอขมาลาบาป ตลอดจนการอุทิศกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเป็นต้น หากได้สละทรัพย์สินเงินทองเพื่อจัดกิจการดังกล่าวด้วย ก็จะเป็นผลานิสงส์สืบต่อไป

อานิสงส์ของการแจกหนังสือธรรมะเป็นทาน

   ๑. กรรมเวรจากอดีตชาติจะได้ลบล้าง
   ๒. หนี้เวรจะได้คลี่คลาย พ้นภัยจากทะเลทุกข์
   ๓. โรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวรจะพ้นไป
   ๔. สามีภรรยาที่แตกแยกจะคืนดีต่อกัน
   ๕. วิญญาณของเด็กที่แท้งในท้องจะได้ไปเกิดใหม่
   ๖. กิจการงานจะราบรื่นสมปรารถนา
   ๗. บุตรจะเฉลียวฉลาดเจริญรุ่งเรือง
   ๘. บารมีคุ้มครองลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข
   ๙. พ่อแม่จะมีอายุยืน
   ๑๐. ลูกหลานเกเรจะเปลี่ยนแปลงเป็นคนดี
   ๑๑. วิญญาณทุกข์ของบรรพบุรุษจะพ้นจากการถูกทรมานไปสู่สุขคติ

การชำระหนี้สงฆ์

   พวกเราบางคนเคนหยิบฉวยสิ่งของที่เป้นสมบัติของวัดหรือของสงฆ์ เช่น ก้อนหิน ก้อนดิน ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ หรือบางทีทรายติดรองเท้าเรากลับออกมาจากวัด ฯลฯ แล้วเราเองก็ไม่ได้ทำบุญ บางทีเหตุการณ์เช่นนี้อาจจะเกิดขึ้นตอนเราเป็นเด็ก ๆ ชอบซุกซนบ้าง เป็นต้น ซึ่งทางวัดและพระสงฆ์นั้นไม่มีเงินเดือนและไม่มีรายได้ใด ๆ ทั้งสิ้น เงินที่ได้มาก็คือเงินที่พุทธศาสนิกชนและญาติโยมต่างๆ  ไปร่วมทำบุญทั้งสิ้น ฉะนั้น ในบางครั้งเราเข้าวัดและบางทีไปใช้ธูปเทียนวัดบ้างเพื่อจุดธูปไหว้พระ อาจจะดื่มน้ำมนต์และอาศัยไฟฟ้าของทางวัด เช่น พัดลม เป็นต้น แล้วลืมทำบุญ ฉะนั้นจะทำให้เราเป็นหนี้สงฆ์ทันทีโดยไม่รู้ตัว
   ดังนั้น เพื่อไม่ให้ต้องติดหนี้สงฆ์ไปถึงภพหน้าชาติหน้า ซึ่งเราเองก็ไม่ทราบว่าเราจะไปเกิดที่ใดภพใด และจะมีโอกาสได้พบพระพุทธศาสนาหรือไม่ ฉะนั้น เพื่อเป็นการไม่ประมาทจึงควรถือโอกาสชำระหนี้สงฆ์ตั้งแต่วันนี้ทันทีที่มีโอกาสไปวัด เมื่อได้ไปทำบุญที่วัดใด คอยสังเกตตู้ที่ทางวัดเขาตั้งใจให้เราใส่เงินทุกบุญเพื่อชำระหนี้สงฆ์ จะได้ไม่ติดค้างไปภพหน้าต่อไป.

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

ก้าวขึ้นไป-ยิ่งขึ้นได้สูงเท่าไร ท่านจะมีความสุขปลอดโปร่งมากขึ้น

   ที่มา : หนังสือ "มงคลชีวิต ภาค ๑" พ.อ. ปิ่น มุทุกันต์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้สำหรับทบทวนความรู้และตรวจสอบการปฏิบัติ

เริ่มสร้างชีวิต....
๑. ไม่คบคนพาล
๒. สมาคมกับบัณฑิต
๓. บูชาคนควรบูชา
๔. อยู่ในปฏิรูปเทศ
๕. มีบุญวาสนา
๖. ตั้งตัวถูกทาง
๗. คงแก่เรียน
๘. มีศิลปะ
๙. มีวินัยดี
๑๐. ใช้วาจาสุภาษิต
๑๑. เลี้ยงดูบิดามารดา
๑๒. เลี้ยงดูบุตร
๑๓. เลี้ยงดูภรรยา
๑๔. ทำงานไม่ให้คั่งค้าง
๑๕. บำเพ็ญทาน
๑๖. ประพฤติธรรม
๑๗. สงเคราะห์ญาติ
๑๘. ทำงานไม่มีโทษ

ปรุงจิตโดยตรง....
๑๙. งดเว้นบาปกรรม
๒๐. สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
๒๑. ไม่ประมาท
๒๒. มีสัมมาคารวะ
๒๓. มีความถ่อมตัว
๒๔. มีความสันโดษ
๒๕. มีกตัญญู (เป็นสัตบุรุษ)
๒๖. ฟังธรรมะตามกาลอันควร
๒๗. อดทน
๒๘. ว่าง่ายสอนง่าย
๒๙. พบปะสมณะ
๓๐. สนทนาธรรม

มุ่งตรงนิพพาน...
๓๑. บำเพ็ญตบะ
๓๒. ประพฤติพรหมจรรย์
๓๓. เห็นอริยสัจ
๓๔. ทำให้แจ้งนิพพาน
๓๕. จิตไม่หวั่นไหว
๓๖. จิตไม่โลภ
๓๗. จิตไม่กำหนัด
๓๘. จิตหลุดพ้น (เกษม)

เรื่องกฐินโดยย่อ

   การทอดกฐินสามัคคีมีอานิสงส์มากกว่าทานอื่นๆ  เพราะ
   ๑. จำกัดเวลา
   ๒. จำกัดบุคคล
   ๓. จำกัดสถานที่
   ๔. จำกัดการรับ
   ๕. เป็นพระพุทธานุญาต คือ ทานที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ไม่มีผู้ทูลขอ
   ๖. จัดเป็นสังฆทาน คือ ทานที่มีผลมาก
   ๗. มีอานิสงส์ทั้งผู้รับ-ผู้ให้
   ๘. ผู้รับ (พระ) ย่อมได้รับการยกเว้นทางพระวินัยฯ มีตัวอย่างครั้งพุทธกาลย่อ ๆ ดังนี้ ;

   อตีเต กาเล ในสมัยครั้งพุทธกาล นายติณบาลฯ เป็นคนยากจนอาสาเป็นลูกจ้างทำสวนหญ้าให้เศรษฐีทำหน้าที่ตัดหญ้าที่บริเวณบ้านเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่ง เขาคิดว่า เรานี้เป็นคนยากจน เพราะไม่เคยทำบุญอันใดไว้ในชาติก่อนเลย เกิดมาชาตินี้จึงเป็นคนรับใช้ไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีสมบัติอะไรติดตัวแม้แต่น้อย เมื่อเขาคิดดังนี้แล้ว เขาจึงได้แบ่งอาหารที่ได้รับจากการรับจ้างแต่ละเดือนออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเอาไว้ถวายแด่พระสงฆ์ที่บิณฑบาต อีกส่วนหนึ่งเก็บเอาไว้บริโภคเอง อยู่ต่อมาพอถึงเทศกาลออกพรรษาเหล่าชนผู้มีศรัทธาต่างพากันทำบุญทอดกฐินเป็นการใหญ่ แม้เศรษฐีผู้เป็นนายเขาก็เตรียมการจะทอดกฐินเช่นกัน จึงได้ประกาศให้สาธารณชนทราบทั่วไป เมื่อนายติณบาลได้ยินการประกาศฯ ก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นในใจทันทีคิดในใจว่ากฐินนี้แหละจะเป็นทานอันประเสริฐ จึงเข้าไปพูดกับเศรษฐีผู้เป็นนายว่า อยากจะร่วมอนุโมทนากฐินทานครั้งนี้ด้วย แต่ตัวเองไม่มีเงินติดตัวเลย จึงคิดอยู่นาน ฯลฯ ในที่สุดเขาได้เปลื้อง (ถอด) ผ้านุ่งของตนออกทำความสะอาดแล้วพับอย่างดี ส่วนตัวเองนำเอาใบไม้มาเย็บนุ่งแทนผ้าแล้วนำผ้าฯ เที่ยวเร่ขายไปตามร้านตลาด หมู่ชนเห็นเขานุ่งใบไม้ก็พากันหัวเราะ ฯ ต่างๆ นานา นายติณบาลจึงชูมือขึ้นกล่าวว่า พวกท่านทั้งหลายจงหยุดก่อนๆๆๆ อย่าหัวเราะข้าพเจ้าเลย ข้าฯยากจน ไม่มีผ้าจะนุ่ง จะขอนุ่งใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้น ชาติหน้าเราจะนุ่งผ้าอันเป็นทิพย์ เขาขายผ้าได้ห้ามาสก (๑ บาทของเราในปัจจุบัน) แล้วนำเงินดังกล่าวมาร่วมอนุโมทนาทอดกฐินกับเศรษฐีผู้เป็นนาย ขณะนั้นได้เกิดการโกลาหลทั่วไปในหมู่ชนตลอดถึงเทวดาในชั้นกามาวจรสวรรค์ฯ ติณบาลมีฐานะร่ำรวยอย่างไม่มีใครคาดคิดฯบั้นปลายชีวิตเขาได้รับตำแหน่งเป็นเศรษฐีอยู่จนมีอายุขัยฯ ก็ถึงแก่กรรมไปเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นดาวดึงส์สวรรค์ เสวยสมบัติทิพย์อยู่ในวิมานแก้วสูงได้ห้าโยชน์ มีนางอัปสรหนึ่งพันแวดล้อมเป็นบริวาร ฯ (ทำบุญด้วยความเลื่อมใสมาก ถึงทรัพย์จะมีน้อยก็ได้บุญมาก)

                                                                                                 คัดจากเทศน์อานิสงส์กฐิน

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

เมื่อตายแล้ว ผลของกรรมจะปรากฎดังนี้
ผู้มีความโลภ โกรธ หลง จะเกิดเป็น เปรต และสัตว์เดรัจฉาน
ผู้มีศีล ๕ จะเกิดเป็นมนุษย์
ผู้มีหิริโอตัปปะ จะเกิดเป็นเทวดา
ผู้มีฌาน จะเกิดเป็นพรหม
ผู้ไม่มีกิเลส จะเกิดเป็น อรหันต์ (เข้านิพพาน)

เวลาชีวิตเหลือน้อยลงทุกวัน

เวลาชีวิตเหลือน้อยลงทุกวัน
จงเลือกเอา
สร้างความดี   จะมีสุขภายหน้า
สร้างความชั่ว   จะมีทุกข์ภายหน้า

บุคคลที่ภพหน้าจะเป็นเปรตหรือไม่ก็น่าลองตรวจดูดังนี้

   ๑. เป็นคนอิจฉาริษยาคนร่ำรวยและสูงกว่าตน ดูถูก ดูแคลนคนยากจนและต่ำกว่าตน
   ๒. ตระหนี่ ไม่ทำทานแล้วยังกีดกันคนที่จะทำทาน
   ๓. นำทรัพย์ สิ่งของ ของภิกษุและส่วนรวมเป็นของตนเอง
   ๔. ติฉินนินทากล่าวร้ายพระ และครูบาอาจารย์ของตน
   ๕. ยุยงให้สงฆ์และหมู่คณะแตกกัน
   ๖. ให้ยาหญิงมีครรภ์เพื่อทำลายเด็กในครรภ์
   ๗. แช่งด่าคนที่ทำบุญทำความดีต่อสังคมและพระสงฆ์
   ๘. มีอุบายทุจริตในการค้า เช่น ปนข้าวไม่ดีลงในข้าวดี
   ๙. ประทุษร้ายต่อพ่อแม่
   ๑๐. ไม่ยอมให้ทานด้วยข้าวและยังสาบานยืนยันว่า ไม่มีข้าวกล่าวมดเท็จ
   ๑๑. ลักขโมยของคนอื่นมากินแล้วสบถว่าไม่ได้ขโมย
   ๑๒. กลางคืนถือศีล กลางวันเป็นพราน
   ๑๓. เป็นเจ้าเมืองหรือผู้ใหญ่ที่ชอบกินสินจ้างรางวัล
   ๑๔. ทำบุญด้วยของเหลือเดน
   ๑๕. ถวายภัตตาหารด้วยเนื้อหมา และเนื้อสัตว์ที่มีเล็บ
   ๑๖. ข่มเหงรังแกคนยากจน
   ๑๗. ทำลายป่า

พึงนึกเสมอว่า

   พึงนึกเสมอว่า ความตายกำลังใกล้เข้ามาหาเราทุกวินาที ซึ่งตรงกับหลักความจริงของพระพุทธศาสนาที่กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
   ทุกคนย่อมไม่สามารถหลีกหนีความตายไปได้
   ความตายนั้นนับวันก็จะใกล้เข้ามาหาเราทุกนาที
   ความตายถึงตัวเราวันไหน เราย่อมไม่รู้
   วัตถุใด ๆ ก็ตามเมื่อเริ่มเกิดขึ้นก็เริ่มย่างเข้าสู่จุดสลาย
   ฉะนั้น เกิดมาชาติหนึ่งแล้วจึงควรมุ่งสร้างแต่ความดี เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ชนรุ่นหลังปฏิบัติเจริญรอยตาม ซึ่งจะเป็นกุศลค้ำจุนตนเองให้พบแต่ความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า
   แต่ถ้าท่านยึดโลกียสมบัติ ท่านก็จะได้เพียงแต่ชาตินี้เท่านั้น และเมื่อท่านตาย ทรัพย์สมบัติศฤงคารที่ท่านเฝ้าสะสมไว้ก็เอาไปไม่ได้แม้แต่ชิ้นเดียว
   ท่านจะเลือกโลกียสมบัติ สวรรคสมบัติ หรือนิพพานสมบัติก็แล้วแต่ท่าน
   แต่ใคร่ขอให้พิจารณาด้วยความไม่ประมาท

คำเตือน

   มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ เหมือนปลาที่ว่ายอยู่ในตู้ ว่ายวนเวียนไปมาไม่รู้จบ จะไม่สามารถหลุดพ้นจากตู้ได้ นอกจากความตายหรือหลุมศพนั่นเอง มนุษย์ทุกชีวิตจะต้องเกิด แก่ เจ็บ และตายเป็นของแน่นอนที่สุด แล้วทำไมจึงต้องมากลั่นแกล้งกัน ทะเลาะกัน เกลียดชังกัน อิจฉาริษยากันเพื่ออะไร ทำไมไม่อภัยให้ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดสุข จิตจะได้สงบไม่กลุ้มใจ ทำให้ประสาทไม่ตึงเครียด ดังนั้น เรามาร่วมกันหันเข้าหาธรรมะเพื่อจะได้มีจิตสงบ สบายคลายทุกข์และจะได้ละ โลภ, โกรธ, หลง, เพื่อตัดกิเลสพวกอยากดัง อยากเด่น อยากสวย อยากรวย อยากได้เกียรติยศ ล้วนแต่เมื่อได้แล้วไม่จีรังยั่งยืนตลอดไป เมื่อได้แล้วถึงเวลาก็เสื่อมได้เช่นกัน
   ดังนั้น จงปลงเสียเถิดแล้วจะอยู่อย่างสุขสบาย โดยรีบสร้างความดีตั้งแต่วันนี้ พรุ่งนี้อาจจะไม่มีเวลาทำ
   ๑. ทางบุญ - ขึ้นสวรรค์ (ผลกรรมดีที่เคยทำไว้)
   ๒. ทางบาป - ลงนรก (ผลกรรมชั่วที่ทำไว้)
   ดังนั้น เราจงหมั่นสร้างกุศลผลบุญต่างๆ เพื่อเป็นสัมภาระให้เราติดตัวนำไปใช้บนสวรรค์ อย่ามัวแต่โง่สร้างความบาป สร้างความทุกข์ให้กับผู้อื่น เบียดเบียนตัวเอง สะสมทรัพย์เงินทองที่ดินตึกแถวมากมายโดยไม่สร้างกุศลเลย
  

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีอธิษฐานในการปล่อยปลา

   ควรจะซื้อปลา เช่น ปลาหมอ ปลาช่อน จากตลาดสด เพราะปลาเหล่านี้จะต้องถูกฆ่าแน่นอน ก่อนจะปล่อยให้เอาน้ำมาถ้วยหนึ่ง เทลงไปในถังที่ใส่สัตว์ที่จะปล่อยนั้น แล้วตั้งใจว่า
   "ข้าพเจ้าขอปล่อยท่านทั้งหลายเหล่านี้ให้เป็นอิสระ ข้าพเจ้าให้ชีวิตแก่ท่านทั้งหลายเหล่านี้ ข้าพเจ้าได้ให้ความเป็นอิสระแก่ท่านทั้งหลายเหล่านี้ ข้าพเจ้าช่วยท่านทั้งหลายเหล่านี้ให้พ้นจากความทุกข์เดือดร้อน พ้นจากการถูกเขาประหาร ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าทำให้แก่ท่านในครั้งนี้ จงเป็นเครื่องอโหสิแก่กัน อย่าได้ถือโทษโกรธเคืองต่อไป ขอท่านทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อข้าพเจ้าปล่อยท่านไปให้เป็นอิสระแล้ว จงไปบอกพวกของท่านที่ทนทุกข์ทรมานอยู่ ถึงส่วนกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้ แล้วขออุทิศกุศลทั้งหมดที่ทำไปแล้วให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงเป็นผู้พ้นจากความทุกข์เดือดร้อนทั้งปวงและจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด"
   ข้อควรรู้ ในการปล่อยสัตว์นั้น บางคนนิยมปล่อยเต่า ขอบอกให้รู้ว่าเต่านั้นไม่สามารถจะอยู่ได้ในน้ำไหลและมีคลื่นแรง ข้าพเจ้าได้เห็นเป็นประจำ มีผู้นำเต่ามาปล่อยในแม่น้ำหน้าวัด (วัดระฆังฯ) จะมีเด็กที่อยู่ใกล้ๆวัดเดินตามมา เมื่อผู้นั้นปล่อยเต่าลงแม่น้ำแล้ว หันหลังกลับไปสักพักใหญ่ เด็ก ๆ เหล่านั้นก็ลงไปจับเต่าจะที่ผู้ใจบุญได้ปล่อยไปเมื่อครู่ใหญ่นั้นเอง กลับขึ้นมาอีก ธรรมชาติของเต่าจะต้องอยู่ในน้ำนิ่งและมีที่แห้งให้เขาสามารถขึ้นมาพักผ่อนได้ (ลองไปเที่ยวดูได้ในเขาดิน) เต่าเมื่อถูกกระแสน้ำและคลื่นแรงก็อยากจะขึ้นบก จึงมาลอยคอกันอยู่ริมเขื่อน เด็ก ๆ รู้เรื่องนี้ดี ก็มาคอยจับกัน
   ปลาไหลและกบก็เช่นเดียวกัน ธรรมชาติของปลาไหลจะอยู่ตามคู คลอง หนอง บึง ที่เป็นดินขุดรูเป็นที่อยู่ กบก็ต้องขุดรูอยู่ตามท้องนา
   ผู้ที่ต้องการสร้างกุศลโดยการปล่อยสัตว์นั้น ควรจะได้พิจารณาด้วยว่าสัตว์นั้นๆ  จะมีชีวิตรอดอยู่ได้หรือไม่ ในสถานที่ที่ตั้งใจจะนำไปปล่อย